การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ประเทศไทยยืน 1 เอเชียแปซิฟิก
มูลค่าตลาดใหญ่ถึง 9% จาก 35%
สัดส่วนมูลค่าของตลาด Medical Tourism ของโลกแบ่งตามภูมิภาค ปี 2019
เอเชียแปซิฟิก 35% (ไทย 9% อินโดนิเซีย 6% มาเลเซีย 5% จีน 4% อินเดีย 2% และสิงคโปร์ 3%)
ยุโรป 30%
อเมริกาเหนือ 21%
อเมริกาใต้และแอฟริกา 14%
การบริการการแพทย์ที่คนนิยมมากที่สุดคือ ทันตกรรม 32% ความงาม 23% และภาวะมีบุตรยาก 19%
อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคมะเร็ง กลับสร้างรายได้มากที่สุดเนื่องจากเทคโนโลยีการติดตามและการรักษาที่ยากและซับซ้อน ต่อเนื่อง และยาวนาน
นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช กรรมการผู้จัดการโรงพยาบาลเมดพาร์ค หยิบข้อมูลปี 2562 ระบุว่าประเทศไทยมีรายได้จาก Medical Tourism ราว 1 แสนกว่าล้านบาท ดูแลผู้ป่วยเกือบ 3 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่เยอะมาก ค่าใช้จ่ายต่อคนคือ 40,000 บาท อย่างไรก็ตามค่ารักษาต่อหัวเฉลี่ยที่สิงคโปร์ยังสูงกว่าไทยที่ 2 แสนบาทต่อคน แสดงถึงนัยยะการรักษาโรคที่ยากและซับซ้อนกว่าเช่น โรคมะเร็ง หรือการวินิจฉัยที่ซับซ้อนและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
เป็นสัญญาณที่ดีที่ประเทศไทยเริ่มผลักดันการตรวจวินิจฉัยโรคในระดับสารพันธุกรรมของเชื้อหรือลำดับพันธุกรรมที่มีความละเอียดแม่นยำ และยังสามารถทำนายโรคที่เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมได้ เช่น #HPV DNA (เชื้อก่อ #มะเร็งปากมดลูก) #BRCA1 #BRCA2 (ตำแหน่งผิดปกติก่อ #มะเร็งเต้านม) หรือ #EGFR (ตำแหน่งผิดปกติก่อ #มะเร็งปอด) ปัจจุบันโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการสามารถเบิกจ่ายผ่านสปสช.ได้ นับเป็นการขับเคลื่อนทางการแพทย์ที่สามารถต่อยอดให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีทางการแพทย์วินิจฉัยและรักษาขั้นสูงทัดเทียมกับประเทศชั้นนำได้
ขณะนี้ความนิยมอันดับ 1 และ 2 ของ Global Medical Tourism คือแคนาดาและสิงคโปร์ตามลำดับ ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 17 แต่กลับมีผู้ป่วยเข้ามารักษามากกว่าสิงคโปร์ แสดงถึงศักยภาพการรองรับผู้ป่วยได้จำนวนมาก และมีความเชื่อถือด้านการแพทย์ในระดับหนึ่ง จากข้อมูลเหล่านี้ ประเทศไทยจึงต้องเร่งพัฒนาทั้งเทคโนโลยี ความรู้ และบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพเพื่อขยายโอกาสส่วน Medical Tourism ให้ได้อันดับต้นๆ ในอนาคต
อ้างอิง:
18 ปี “นโยบาย Medical Hub” ควรต้อง “รีดีไซน์”ใหม่
รีสตาร์ท Medical Hub พาเศรษฐกิจไทย ฝ่าวิกฤติโควิด-19 I Krungthai Compass
“เทคโนโลยี” หนุนบริการสุขภาพ ยกระดับ ดันไทยสู่ “Medical Hub”