ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการริเริ่มและผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์สุขภาพระดับนานาชาติ (Medical Hub) ตั้งแต่ปี 2558 โดยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบ 4 อย่างคือ
Wellness Hub: ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
Medical Service Hub: ศูนย์กลางบริการทางการแพทย์
Academic Hub: ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย
Product Hub: ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เนื่องจากการพัฒนาการวินิจฉัยและรักษาได้ก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 รวมถึงการพัฒนาและขยายบริการเพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย สิ่งเหล่านี้ทำให้ทรัพยากรทางการแพทย์ของไทยมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นอย่างมากในสายตาของต่างชาติ
ประกอบกับอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุทั่วโลกมีมากขึ้นยิ่งทำให้กลุ่มเป้าหมายมีแนวโน้มที่จะเข้ามาพักผ่อนและใช้ชีวิตหลังเกษียณในประเทศไทยมากขึ้น
คาดการณ์การเติบโตของภาคการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโลกพบว่ามูลค่าการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของปี 2019 โตขึ้นจาก 104.7 พันล้าน USD เป็น 273.7 พันล้าน USD หรือเพิ่มขึ้น 12.8% ในปี 2027
สิ่งที่น่าสนใจคือการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสร้างรายได้สูงกว่าการท่องเที่ยวแบบอื่น ๆ ไม่เพียงแต่ภาคทางการแพทย์เท่านั้นที่จะได้ประโยชน์ แต่ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้อีกด้วย
นับตั้งแต่ปี 2010-2018 จำนวนของชาวต่างชาติที่เข้ารับบริการทางการแพทย์ในไทยมีจำนวนมากขึ้นทุกปีเฉลี่ยปีละ 8.52% ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีหากจะเริ่มลงทุนและผลักดันให้ไทยเป็น World Medical Hub ให้สำเร็จ
สิ่งนี้ยังสื่อให้เห็นว่าการแพทย์ไทยควรผลักดันเทคโนโลยี นวัตกรรม บุคลากร และงานวิจัยให้พร้อมรองรับกลุ่มเป้าหมาย โดย ณ ตอนนี้มีโรงพยาบาลที่เข้า #JCI หรือ Joint Commission International ซึ่งเป็นมาตรฐานสถานพยาบาลระดับยอดเยี่ยมกระจายอยู่ทั่วประเทศ ไม่ใช่แค่เพียงในกรุงเทพฯ เท่านั้น
ดูรายชื่อโรงพยาบาล: รายชื่อสถานพยาบาล JCI ในประเทศไทย 2022
แน่นอนว่าหลังจากสถานการณ์ COVID-19 แล้ว สถานพยาบาลจำนวนไม่น้อยจะมีประสิทธิภาพในการวินิจฉัย รักษา และให้บริการทางการแพทย์ มีศักยภาพเพียงพอที่จะรับคนไข้ทั้งคนไทยเองและต่างประเทศ
จากการศึกษาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยระบุว่า 78% ของประชากรจาก 48 ประเทศทั่วโลกมีความต้องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (#Wellness) ที่จะเข้ามาตรวจร่างกายหรือรักษาโรคกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้เห็นว่ามีโอกาสและความเป็นไปได้ของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์อีกมากมายในอนาคต
Krungthai Pass มองว่าอนาคตตลาดของ Medical Tourism สามารถไปได้อีกไกลเนื่องจากความพร้อมของทรัพยากรทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย ราคา และบริการที่ดีกว่าประเทศอื่น ๆ ประกอบกับอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุทั่วโลกที่มีมากขึ้นยิ่งทำให้กลุ่มเป้าหมายมีแนวโน้มที่จะเข้ามาพักผ่อนและใช้ชีวิตหลังเกษียณในประเทศไทยมากขึ้น
การคาดการณ์ของ Allied Market Research ระบุว่ามูลค่าตลาด ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยในปี 2023 จะมีมูลค่าถึง 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.1 แสนล้านบาท และอาจแตะระดับ 7.6 แสนล้านบาทในปี 2027 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 13.2% (CAGR ปี 2019-2027) โดยมีจำนวน นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเข้ามาใช้บริการด้านการแพทย์ในประเทศไทย ประมาณ 7.7 ล้านคน
ที่มา:
Thailand : Medical Hub Of Asia
รีสตาร์ท Medical Hub พาเศรษฐกิจไทย ฝ่าวิกฤติโควิด-19 I Krungthai Compass