Epidermal Growth Factor Receptor หรือยีน #EGFR เป็นยีนที่อยู่บนผิวเซลล์ช่วยในการควบคุมการแบ่งตัวและรักษาสมดุลของเซลล์
แต่หากยีน EGFR เกิดการกลายพันธุ์ก็จะทำให้สูญเสียการควบคุมสมดุลในเซลล์ไป เมื่อมีการเพิ่มตัวของยีนที่ผิดปกติเรื่อย ๆ จึงทำให้เกิดเป็นมะเร็งปอดขึ้น
ประชากรที่พบการกลายพันธุ์ยีน EGFR มากที่สุดคือ
10% ในคนไข้มะเร็งปอดทั่วไป
50-60% ในของคนเอเชียที่ไม่สูบบุหรี่
แม้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงกระตุ้น ทุกคนมีสิทธิ์เป็นมะเร็งปอดได้หากยีน EGFR เกิดการกลายพันธุ์
ลักษณะการดำเนินโรคหรือการเกิดโรคมะเร็งปอดขึ้นกับลักษณะทางพยาธิวิทยา
1. Adenocarcinoma ผิวเซลล์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง 60%
2. Squamous cell
3. Small Cell
4. Large cell
การตรวจความผิดปกติยีน EGFR
สามารถตรวจได้จากเลือดและชิ้นเนื้อ สามารถใช้ตรวจเพื่อบ่งชี้โรคมะเร็งปอดหรือตรวจเพื่อทำนายผลการตอบสนองต่อการใช้ยาต้านมะเร็งเป็นการตรวจด้วยหลักการ PCR วิธีเดียวกับที่เราเคยตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 ในห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลนั่นเอง
ยีนกลายพันธุ์กับยาต้านมะเร็ง
การรักษามะเร็งด้วยยามี 2 รูปแบบ
1 ใช้ยาเคมีบำบัดออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์ที่มีการแบ่งตัวรวดเร็วทั้งเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติ วิธีนี้จะทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์เพราะตัวยาจะทำร้ายเซลล์ปกติไปด้วย
2 ยามุ่งเป้า (Targeted therapy) ออกฤทธิ์โดยหยุดหรือชะลอการโตหรือกระจายของมะเร็ง
เนื่องจากการกลายพันธุ์ยีน EGFR ไปกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตและแพร่กระจาย ดังนั้นจึงมีการพัฒนายาเช่นยามุ่งเป้าเพื่อรักษาการกลายพันธุ์ของยีนให้ตรงจุดมากที่สุดและยับยั้งสัญญาณที่ทำให้เซลล์มะเร็งเพิ่มจำนวนได้
การตรวจลำดับสารพันธุกรรมเชิงลึกที่ละเอียดก็ทำให้แพทย์ติดตามการตอบสนองยาและเลือกจ่ายยาให้สอดคล้องกับโรค ได้ถูกจุดและแม่นยำขึ้น
ที่มา: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Chula Cancer และ Mahidol Channel
#Zmedic #ZmedicEGFR #EGFR #PCR