ไข้เลือดออก ภัยร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ

ช่วงหน้าฝนที่มีฝนตกชุกเช่นนี้ทำให้เกิดน้ำขังกระจายหลายแห่ง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค #ไข้เลือดออก #ไข้ซิกา #ชิคุนกุนยา

#ไข้เลือดออก ในปีนี้มีผู้ป่วยสะสม 17,412 ราย เสียชีวิต 14 ราย พบว่าการระบาดเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 22/08/2022) โดย กระทรวงสาธารณสุข

วันนี้เรามาทำความรู้จักโรคไข้เลือดออกให้มากขึ้นกันผ่าน infographic ต่อไปนี้ค่ะ

Dengue เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออกโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เป็นโรคที่มีการแพร่ระบาดในวงกว้างจนกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ในปีที่มีการระบาดหนักจะมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงมากกว่า 100,000 รายและจะระบาดหนักในฤดูฝน ประเทศไทยพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกทั่วทุกพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นในชุมชนเมืองหรือชนบท

ไวรัส Dengue (DENV) เป็นไวรัส RNA สายเดี่ยวบวกมีไขมันเป็นเปลือกหุ้ม มี 4 ชนิดซีโรไทป์คือ DENV1 DENV2 DENV3 และ DENV4 โครงสร้างภายในประกอบด้วย โปรตีนโครงสร้าง (structural proteins) และ โปรตีนที่ไม่ใช่โครงสร้าง (non – structural proteins) ได้แก่ NS1, NS2A, NS2B, NS3, NS4A, NS4B และ NS5 การตรวจหาเชื้อจะใช้ตัว NS1 เป็นเป้าหมาย เนื่องจากไวรัสจะปล่อยโปรตีนตัวนี้ออกมาเมื่อเข้าสู่เซลล์มนุษย์

วัฏจักรไข้เลือดออก

ยุงลายบ้านและยุงลายสวน → กัดผู้ป่วยตั้งแต่ -2 วัน ถึง 6 วันเมื่อมีอาการ → เชื้อฟักตัว 8 – 12 วัน → เป็นพาหะแพร่เชื้อไปยังคน → ยุงที่ดูดเลือดคือยุงเพศเมียที่มีอายุขัยประมาณ 3 เดือน

ลองคิดดูว่าภายใน 3 เดือนนี้ยุงตัวนี้จะเพิ่มยอดผู้ป่วยได้กี่คน?

อาการของโรคมีตั้งแต่ไม่มีอาการจนถึงมีอาการรุนแรง แบ่งเป็น 3 ระยะคือ

ระยะไข้ มีไข้สูงลอย ตัวแดง บางรายมีจุดเลือดออก ไม่มีน้ำมูกหรืออาการไอ ในรายที่รุนแรงอาจมีการอาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือดหรือสีดำ และตับ ไต โต

ระยะช็อค 1/3 ของผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงจนช็อค เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะไข้ลดลงเฉียบพลัน ต้องรับการรักษาอย่างเร่งด่วน

ระยะฟื้นตัว ในผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะช็อกส่วนใหญjจะอาการดีขึ้นเมื่อไข้ลดลง

#ZmedicDengue #dengue

Message us