วัณโรคแฝง เหมือนไม่อันตรายแต่ร่างกายต้องได้รับการรักษา

วัณโรคแฝง คืออะไร 

วัณโรคแฝง หรือ วัณโรคระยะแฝง (Latent TB Infection) เป็นวัณโรคที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis แฝงอยู่ในร่างกาย แต่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อโรควัณโรคได้โดยไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ และไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ 

ที่สำคัญผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35-65 ปี และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หากเป็นวัณโรคแฝงโดยไม่รู้ตัว และเพิกเฉยต่อการเข้ารับการตรวจสุขภาพของตนเองอย่างเป็นประจำ ก็อาจส่งผลให้เกิดความเสียหาย และเสี่ยงเป็นวัณโรคแบบเต็มตัวที่ก่อให้เกิดปัญหารุนแรงตามมาได้ในภายหลังเช่นกัน 

การทดสอบการติดเชื้อ วัณโรคระยะแฝง

การทดสอบการติดเชื้อวัณโรค มี 2 วิธี  

1. การทดสอบทางผิวหนังด้วยทุเบอร์คุลิน (Tuberculin skin test) ซึ่งทำได้โดยการฉีดโปรตีนสกัดจากเชื้อวัณโรค เรียกว่า PPD (Purified Protein Derivative) ปริมาณ 0.1 มิลลิลิตร เข้าในชั้นผิวหนัง (Intradermal injection) บริเวณท้องแขน หลังจากนั้น 48 ถึง 72 ชั่วโมง จะทำการวัดขนาดรอยนูนบริเวณที่ฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง  

2. การทดสอบ Interferon-gamma release assays (IGRAs) คือ การตรวจเลือดเพื่อช่วยในการวินิจฉัยการติดเชื้อวัณโรค IGRAs เป็นวิธีการตรวจสอบที่ใช้วัดปริมาณ Interferon-gamma (IFN-γ) เมื่อมีการติดเชื้อวัณโรคขึ้นในร่างกาย ความไวและความจำเพาะ จะเท่ากับหรือดีกว่าการทดสอบทุเบอร์คุลิน  

การตรวจ IGRAs จะช่วยลดผลการทดสอบที่เป็น “ผลบวกลวง” จากการทำทุเบอร์คุลิน การตรวจทั้ง 2 วิธีนี้ไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างการติดเชื้อวัณโรคและการป่วยวัณโรคได้  

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจที่ได้รับการรับรองอยู่ 2 วิธี  

1. QuantiFERON-TB Gold Plus (QFT-Plus)  

2. SPOT® TB test (T-spot) 

ในบางกรณีนอกจากการตรวจเลือดอาจได้รับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมโดยใช้เทคนิครังสีวินิจฉัย ที่จะช่วยบ่งบอกได้ว่ามีการแพร่เข้าสู่ปอดหรือไม่ โดยจะเห็นเป็นจุดสีขาวๆ อยู่ล้อมรอบปอด 

วิธีรักษาวัณโรคแฝง

หากได้รับการทดสอบแล้ว พบว่าตนเองนั้นกำลังป่วยเป็นวัณโรคแฝง แพทย์ส่วนใหญ่มักจะแนะนำการรักษาด้วยการให้ยาสเตียรอยด์ เคมีบำบัด เข้ามาช่วยในระยะยาว เพื่อทำการยับยั้งก่อนเชื้อแบคทีเรียจะส่งผลอันตราย นอกจากนี้ยังแพทย์ยังจำเป็นต้องให้ยาไรแฟมพิซิน (Rifampicin) และไอโซไนอาซิด (Isoniazid) มาร่วมรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3-6 เดือน แนะนำให้แจ้งแพทย์ทราบถึงประวัติโรคประจำตัวและประวัติการแพ้ยา เนื่องจากยาไรแฟมพิซิน (Rifampicin) อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือลดประสิทธิภาพการทำงานของยาชนิดอื่นๆลง เช่น ยาคุมกำเนิด เป็นต้น 

แหล่งที่มา:

คำแนะนำ เรื่องการวินิจฉัยและรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (Latent Tuberculosis Infection), กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1 : กันยายน 2562 

วัณโรคแฝง อีกหนึ่งโรคทางเดินหายใจ ที่มักไม่แสดงอาการ – Hello Khunmor

#ZmedicTuberculosis #Tuberculosis #วัณโรค #วัณโรคปอด #วัณโรคแฝง

Message us