ไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ( Dengue virus ) ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เชื้อไวรัสเดงกีมี 4 สายพันธุ์ อาจพบได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ระบาดมากในเขตโซนร้อนช่วงฤดูฝน
สาเหตุและการติดต่อ
เชื้อไวรัสเดงกีมี 4 สายพันธุ์ คือ DENV1,DENV2,DENV3,DENV4 ซึ่งอยู่ในยุงลายเพศเมียที่เป็นพาหะนำโรคและจะออกหากินในตอนกลางวันโดยการดูดซึมเลือดเป็นอาหาร เมื่อยุงลายที่เป็นตัวพาหะกัดดูดซึมเลือดของคนที่ติดเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อไวรัสจะเข้าไปฝังตัวภายในเซลล์ผนังกระเพาะอาหารของยุง จะฝักตัวในระยะเวลา 8-12 วัน และเมื่อยุงลายไปกัดผู้อื่น เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระแสเลือดของคนที่ถูกกัดจึงทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสเดงกีและเป็นไข้เลือดออก
อาการแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ
1.ระยะไข้ : ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยแบบเฉียบพลัน 39-40 องศา ติดต่อนาน 2-7 วัน โดยไม่ตอบสนองกับยาลดไข้
– ปวดศีรษะรุนแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
– คลื่นไส้ อาเจียน
– ปวดกระบอกตา ตาแดง
– มีอาการซึม เบื่ออาหาร
– ปวดท้องใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา
– มีจ้ำเลือด หรือผื่นแดงขึ้นที่บริเวณผิวหนัง
2.ระยะวิกฤต : ผู้ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอาการจะดีขึ้น ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่ได้เข้าสู่ระยะนี้ แต่ในบางรายไข้จะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็วเป็นระยะที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด เนื่องจากอาจเกิดภาวะช็อกจากไข้สูงได้และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต อาการของผู้ป่วยระยะวิกฤตต้องเฝ้าระวัง มีดังนี้
– เกร็ดเลือดต่ำ เลือดออกผิดปกติ อาจมีเลือดออกในกระเพาะ
– มีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามร่างกาย
– ปวดท้องมาก
– คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง
– มีอาการกระสับกระส่าย
– มือเท้าเย็น ตัวเย็น
– อ่อนเพลีย ซึม
– ชีพจรเบาเร็ว
ระยะนี้เกิดขึ้นประมาณ 24-48 ชั่วโมง ผู้ที่มีอาการเสี่ยงเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเนื่องจากเป็นอาการเสี่ยงเข้าสู่ภาวะช็อคและทำให้เสียชีวิตได้
3.ระยะฟื้นตัว : อาการต่างๆจะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ
– ไข้ลดลงและอุณหภูมิร่างกายปกติ
– รับประทานอาหารได้มากขึ้น
– ปัสสาวะมากขึ้น
– มีผื่นหรือจุดเลือดขึ้นตามตัว
การป้องกัน
-ป้องกันไม่ให้โดนยุงกัด เช่น สวมใส่เสื้อผ้ามิดชิด ทายาหรือสเปรย์กันยุง
-กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น อย่าให้เกิดน้ำขังหรือปิดฝาภาชนะที่มีน้ำขัง
-ติดมุ้งลวดตามหน้าต่างประตูหรือนอนในมุ้ง
-ฉีดวัคซีนป้องกัน
การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
-ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count) เป็นการตรวจความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ปริมาณเม็ดเลือดขาว ปริมาณเกล็ดเลือด
-ตรวจหาโปรตีนของเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue NS1 Antigen)
-ตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue IgM/IgG)
-ตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue PCR)
สนใจน้ำยาตรวจหาเชื้อ Dengue virus : https://z-medic.com/product-category/test/mosquito-borne-diseases/dengue/
ที่มา : โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์,กรมควบคุมโรค,สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
👩🔬Zmedic
💗We Select the Best from all over the World for You.