“ไอกรน” โรคที่พ่อ-แม่ ควรระวัง เพราะอันตรายกว่าที่คิด!!

ไอกรน คือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis (B. pertussis)  จนทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจในลำคอเป็นเหตุให้ไอต่อเนื่องอย่างรุนแรง โรคไอกรนระบาดมากในกลุ่มของเด็กเล็ก – เด็กทารก (อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี) ซึ่งมักจะมีอาการที่รุนแรงมากกว่าผู้ป่วยในกลุ่มอื่น โดยส่วนมากเด็กๆจะได้รับเชื้อมาจากผู้ใหญ่ผ่านทางอากาศ เช่น ไอ จามรดกัน หรือสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อร่วมกัน ลักษณะของผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อสังเกตง่ายๆคือ การไอซ้อนๆติดกันหลายๆครั้งจนทำให้เด็กหายใจไม่ทันจึงเกิดการหยุดไอ และเมื่อหายใจเข้าลึกๆจะเกิดเสียง วู๊ป (Whooping cough) ดังขึ้น สลับไปมากับการไอเป็นชุด ทำให้เกิดการเรียกโรคนี้ว่า “โรคไอกรน” ผู้ที่สัมผัสกับโรคโดยที่ยังไม่รับวัคซีนคุ้มกันจะติดเชื้อได้ง่ายและมีอาการที่รุนแรงมากกว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว อาการของโรคไอกรนยังคล้ายกับการเป็นโรคหวัดธรรมดา แต่โรคไอกรนนั้นอันตรายมากกว่าและมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่าโรคไข้หวัดอีกด้วย

อาการของโรคไอกรน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

1.ระยะแรก (Catarrhal stage) : ผู้ป่วยจะมีอาการไอแห้ง คัดจมูก น้ำมูกไหล อาการคล้ายๆกับโรคหวัด อาจมีไข้ต่ำ ตาแดงร่วมด้วย จะมีอาการเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์

2.ระยะรุนแรง (Paroxysmal stage) : ผู้ป่วยจะมีอาการไออย่างรุนแรง ไอถี่ติดต่อกันเป็นชุด ไอซ้อนๆกันมากกว่า 5 – 10 ครั้ง จนหายใจไม่ทันจึงทำให้หยุดไอและจะหายใจเข้าลึกๆจนเกิดเสียงดัง วู๊ป (Whooping cough) ขึ้นมา สลับกับการไอเป็นชุด ในช่วงที่ไอผู้ป่วยจะมีอาการ น้ำมูกน้ำตาไหล ลิ้นจุกปาก ตาถลน ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการหน้าเขียวเนื่องจากการหายใจไม่ทันหรือเกิดอาการหยุดหายใจร่วมด้วย โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน จะมีอาการเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ หรืออาจจะมากกว่านี้ก็ได้

3.ระยะฟื้นตัว (Convalescent stage) : อาการไอเป็นชุดๆจะเริ่มดีขึ้นและลดลง แต่ยังคงมีอาการไออยู่และจะหายไปใน 6-10 สัปดาห์

การป้องกัน

ป้องกันได้ด้วยการให้วัคซีน วัคซีนไอกรนนี้จัดเป็นวัคซีนขั้นพื้นฐานที่เด็กทุกคนต้องได้รับ ซึ่งรวมอยู่ในวัคซีน คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน โดยการฉีดที่อายุ 2, 4, 6, 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งในช่วงอายุ 4-6 ปี  

สนใจน้ำยาตรวจหาเชื้อ Bordetella : https://z-medic.com/product/ridagene-bordetella/

ที่มาจาก : กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

👩‍🔬Zmedic
💗We Select the Best from all over the World for You.

Message us